โมบี้พามารู้จักนมแม่กัน

แม่ๆรู้หรือไม่ว่า จริงๆแล้วเต้าเราผลิตนมแม่อยู่แค่ชนิดเดียว แต่ที่เราเรียกกัน 3 ชื่อ ไม่ว่าจะเป็น “Colostrum” (คอลอสตรัม) “Foremilk” (นมหน้า) หรือ “Hindmilk” (นมหลัง) นั้นเป็นแค่คำที่เราเรียกในแต่ละช่วงของการให้นม ซึ่งวันนี้แม่เกดจะมาเล่าให้ฟังถึงความแตกต่างกันในแต่ละของนมแม่ค่ะ

ส่วนแรก  สำคัญมากที่เราต้องพูดถึงก่อนก็คือ Colostrum (คอลอสตรัม) หรือส่วนของนมหน้า ที่คุณแม่ ผลิตตั้งแต่ช่วงครรภ์สัปดาห์ที่ 16 – 22 แต่เป็นการผลิตที่ยังน้อยนิดคงค้างอยู่ในเต้าจนเมื่อลูกน้อยคลอดและเริ่มดูดจากเต้า นม Colostrum นี้จะเป็นอาหารมื้อแรกที่ลูกได้ดื่ม เป็น Super food ที่มีลักษณะสีเหลืองทองอร่าม (เมืองนอกชอบเรียกว่า Golden Milk/Liquid Gold) มีความเข้มข้นสูงและปริมาณน้อย  แต่มีส่วนประกอบที่มีคุณค่าจำเป็นต่อลูกน้อยสูงมากใน 3 ด้าน

  1. การเจริญเติบโตและการซ่อมแซม – มี Growth factors และ stem cells ทำหน้าที่ในการสร้างกล้ามเนื้อ ผิว กระดูกและเสริมสร้างระบบย่อยอาหารให้สมบูรณ์ขึ้น

ที่สำคัญยังช่วยในการขับถ่าย ขจัดบิลิรูบินออกจากร่างกาย ลดการเกิด Jaundice (อาการตัวเหลือง) ในเด็กแรกเกิด

  1. ภูมิต้านทาน – จาก Antibodies (แอนติบอดี้) และเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่ปกป้องลูกน้อยจากสิ่งแปลกปลอมและเปรียบเสมือนวัคซีนดูแลภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายของลูกที่ยังไม่สามารถสร้างได้เอง
  2. แหล่งของสารอาหารจำเป็น – ไม่ว่าจะเป็นวิตามิน โปรตีน ไขมัน แร่ธาตุจำเป็นต่างๆสำหรับการสร้างพลังงานและสร้าง

บอกได้เลยว่า 3 เรื่องนี้เป็นสิ่งที่แม่ๆคงเป็นกังวลว่าลูกเราจะแข็งแรงหรือไม่ จะติดเชื้ออะไรมั้ยหรือจะได้รับสารอาหารเพียงพอหรือเปล่า ไม่ต้องห่วงค่ะ ธรรมชาติสร้าง Colostrum มาเป็น SUPER FOOD มาดูแลร่างกายลูกของเรา

บีบออกมาไม่กี่หยดแต่ประโยชน์มากมายมหาศาลหาที่ไหนไม่ได้บนโลกนี้

**Colostrum จะมาอยู่กับเราไม่ถึงอาทิตย์นะคะ ดังนั้นแม่ๆต้องพยายามเอาน้องเข้าเต้าทุกๆ 2-3 ชั่วโมง ลูกเราจะได้รับ SUPER FOOD และวัคซีนจากธรรมชาติอย่างคุ้มค่านะคะ** (หมดเวลานอนยาวแล้วค่ะ)

หลังจากนั้น นมแม่ก็จะเข้าช่วงที่จะเป็นนมแม่ที่ Mature Milk ที่มีส่วนของ Foremilk (นมส่วนหน้า) และ Hindmilk (นมส่วนหลัง) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำนม เวลาที่คุณแม่ค้างนมไว้ในเต้าและบางทีก็เวลาระหว่างวันด้วยค่ะ เข้าใจง่ายๆแค่นี้ค่ะ

  • ลักษณะของ Foremilk จะมีสีใส มีส่วนประกอบเป็นน้ำเยอะ มีแลคโตสสูงซึ่งช่วยในการขับถ่าย มีวิตามินและแร่ธาตุเหล็กสูง
  • ในขณะที่ Hindmilk จะมีโปรตีนและไขมันเป็นส่วนประกอบสูง อุดมไปด้วยไขมันดี Omega AA/ARA มีแคลอรี่สูง (เป็นส่วนที่ช่วยในการเพิ่มน้ำหนักของลูก)

 

ดังนั้นหากแม่มีลักษณะน้ำนมเยอะมากกว่าปริมาณที่น้องต้องการและมีความเข้มข้น บวกกับทิ้งเต้าไว้นานระหว่างมื้อจะทำให้ในมื้อนั้นลูกได้รับ Foremilk จากเต้าเยอะ แต่หากน้องทานได้เกลี้ยงเต้าเลย ก็จะทำให้น้องได้รับน้ำนมที่ครบถ้วนค่ะ อุจจาระของน้องจะออกเป็นสีเหลืองอร่ามสวยงามค่ะ

ในกรณีที่น้องทานไม่เกลี้ยงเต้า น้องจะได้รับ Foremilk เป็นส่วนใหญ่ สังเกตได้จากอุจจาระของน้องที่จะมีสีเขียว เนื้อไม่เยอะ ปนมีตดๆ บ้างเป็นบางครั้งค่ะ

สิ่งที่แม่เกดแนะนำได้คือ 2 วิธีนี้

  1. หากน้องทานอิ่มคลายจากเต้าก่อนที่เต้าจะเกลี้ยงและต้องการเปลี่ยนเต้าใหม่ (หรือไม่ทานเลย) ให้คุณแม่ปั๊มนมออกมาจนเกลี้ยงเต้าและสามารถเสริมให้ได้ระหว่างมื้อ หรือให้คุณแม่เข้าเต้าในรอบต่อไปให้เร็วขึ้นค่ะ
  2. ปั๊มหรือบีบนมออกก่อน 1-2 นาที (ประมาณ 1-2 ออนซ์ ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำนมในเต้าของคุณแม่) เก็บ Foremilk ส่วนนี้ไว้ก่อนแล้วจึงค่อยให้ลูกเข้าเต้าเพื่อให้ได้รับส่วนของ Hindmilk ได้มากขึ้น

**ขอย้ำอีกครั้งว่า เรื่องการที่น้องได้รับน้ำนมที่ไม่พอดีในสัดส่วนของ Foremilk กับ Hindmilk นั้น จะเกิดขึ้นเฉพาะคุณแม่ที่มีการผลิตน้ำนมมากกว่าความต้องการของลูก หากเป็นคุณแม่ที่มีน้ำนมพอดีน้องทานก็ไม่ต้องเป็นห่วงอะไรค่ะ**

หวังว่าแม่เกดจะช่วยเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับนมแม่ได้บ้างนะคะ ขอแม่ๆอย่าเครียด อย่ากังวล น้ำนมแม่จากเต้าทุกหยดล้วนมีประโยชน์และมีคุณค่ามหาศาล ธรรมชาติจัดสรรปรับเปลี่ยนส่วนประกอบในน้ำนมให้เหมาะสมตามความต้องการของลูกน้อยในแต่ละช่วงวัยที่โตขึ้นค่ะ

     
     
     
 

ขออนุญาตแนะนำประวัติคร่าวๆของแม่เกดนะคะ

จบการศึกษามาจากสาขา Medical Science, The University of New South Wales ประเทศออสเตรเลียและได้ทำงานวิจัยด้านการควบคุมคุณภาพของบริษัทยาต่างชาติมามากกว่า  10 ปี

ขณะนี้มีหน้าที่หลักเป็น “Mother of Two” หรือคุณแม่ลูกสอง แม่เกดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนค่ะ ตอนนี้คนเล็กก็ให้นมกันมา 1 ขวบครึ่งแล้วค่ะ

จากประสบการณ์การให้นมแม่ที่ผ่านมาอย่างโชกโชน เป็นมาแล้วเกือบทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับนมแม่ ไม่ว่าจะหัวนมแตก ท่อนมตัน เต้านมอักเสบ นมมาเยอะเกินหรือแม้แต่นมหดหายก็เคยผ่านพบมา ทำให้เรามีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งของหัวอกคนเป็นแม่ให้นมลูกและด้วยความตั้งใจที่ต้องการรู้ให้ลึก  รู้ให้จริงเกี่ยวกับนมแม่ เกดจึงเลือกศึกษาต่อด้าน Lactation Education ของประเทศอเมริกาเพื่อมาเป็น Lactation Specialist (ผู้เชี่ยวชาญด้านนมแม่)

ตอนนี้เกดมีความรู้มากมายที่อยากจะแชร์ให้แม่ๆได้ทราบในเรื่องของนมแม่อย่างถูกต้องตามหลักของวิทยาศาสตร์และเล่าถึงประสบการณ์ตรงต่างๆที่พบเจอมาผ่านบทความบนหน้าเพจของ Moby  เกดหวังว่าจะได้เป็นหนึ่งในกำลังใจให้กับแม่ๆที่กำลังเผชิญเรื่องต่างๆและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อให้แม่ๆสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างประสบความสำเร็จตามที่ใจหวังค่ะ