วิธีแก้ไขปัญหาการนอนยอดนิยมของบรรดาคุณแม่ตั้งครรภ์

คุณแม่ทราบกันไหมคะ ว่าขณะ #ตั้งครรภ์ การนอนเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งกว่าช่วงเวลาปกติเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะเป็นช่วงที่ร่างกายได้ใช้เวลาในการซ่อมแซมตัวเองแล้ว ก็ยังเป็นช่วงที่สมองของคุณแม่ได้สร้างความสัมพันธ์กับสมองของลูกในครรภ์ อีกทั้งยังเป็นช่วงเวลาที่หลอดเลือดที่มีความดันเพิ่มสูงขึ้นจากการที่เลือดไหลเวียนมากกว่าปกติเพื่อไปเลี่ยงลูกในครรภ์ได้ใช้ในการฟื้นฟูตัวเองอีกด้วย

 

แต่ถึงอย่างนั้นช่วงเวลาของ #การนอน ก็ดันกลายมาเป็นช่วงเวลาเจ้าปัญหาที่ #คุณแม่ตั้งครรภ์ จำนวนมากต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมาย และแก้ยังไงก็แก้ไม่ตกสักที!! เอาล่ะ! ใจเย็นค่ะคุณแม่ ไม่ต้องกังวลไป เพราะวันนี้ 😊#Moby  ได้รวบรวมทริคเด็ดในการช่วยแก้ไขปัญหาการนอนที่คุณแม่ตั้งครรภ์เจอกันบ่อย ๆ มาฝาก เพื่อให้คุณแม่นอนหลับได้สบายขึ้น แถมยังปลอดภัยกับน้องในครรภ์อีกด้วยค่า✨

 

Facebook Message: m.me/babymoby

📩 Line@: https://line.me/R/ti/p/%40babymoby

Tel: 097-974-5924 (จ – ศ 10.00 – 18.00)

 

🤱 Baby Moby, because little things matter.

ท่านอนตะแคง โดยเฉพาะตะแคงซ้าย เป็นท่านอนที่ดีที่สุดสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ช่วยให้ออกซิเจนและสารอาหารถูกส่งไปยังลูกในครรภ์ได้ดี ดีต่อการทำงานของไต และลดอาการบวมน้ำได้ แต่ถึงอย่างนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์หลาย ๆ คนก็รู้สึกไม่ถนัดหรือไม่สบายตัวเมื่อนอนตะแคง

 

วิธีแก้ไขสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่นอนตะแคงไม่สะดวก ก็คือ ให้หาหมอนวางไว้ระหว่างขา และรองหลังไว้ โดยหมอนที่ดีที่สุดสำหรับคนท้องก็คือหมอนเต็มตัว (Full-body pillows) และหมอนทรงลิ่ม (wedge pillows)

 

หรือไม่อย่างนั้นก็ลองนอนบนเก้าอี้ที่มีพนักพิงเอนไปด้านหลังได้ หรือบนเก้าอี้นวมในท่าเอนหลังกึ่งนั่งกึ่งนอนสบาย ๆ ก็ได้เหมือนกันค่ะ

อาการเป็นตะคริวของคุณแม่ตั้งครรภ์ มีที่มาจากการที่น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น และกล้ามเนื้อขาต้องแบกรับน้ำหนักตัวแม่ และเจ้าตัวเล็กอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งมดลูกที่ขยายตัวก็อาจไปกดทับเส้นเลือดดำใหญ่ที่ขา หรืออุ้งเชิงกราน ทำให้อาการเป็นตะคริวมาเยือนให้ได้ต้องสะดุ้งตื่นแทบทุกคืน เผลอ ๆ คุณสามียังต้องตื่นขึ้นมานวดให้อีกด้วยนะ

 

วิธีแก้ไขสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มักเป็นตะคริว ก็คือ ดื่มน้ำมากๆ อาบน้ำ หรือแช่เท้าด้วยน้ำอุ่น และทานอาหารหรืออาหารเสริมที่มีแคลเซียม และแมกนีเซียมเพิ่มขึ้น เพราะแคลเซียม และแมกนีเซียมเป็นสารอาหารตามธรรมชาติที่จะช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ซึ่งจะช่วยให้อาการตะคริวลดน้อยลงได้

หากคุณมีความรู้สึกเหมือนมีตัวอะไรมาไต่ที่ขาขณะนอนเป็นประจำล่ะก็ ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะคุณอาจเป็น 1 ใน 15 เปอร์เซ็นต์ของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เริ่มมีอาการดังกล่าวเมื่อเข้าสู่ช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่สาม

 

ภาวะขากระตุกขณะหลับ หรือโรคขาอยู่ไม่สุข เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อขา และกล้ามเนื้อส่วนอื่นเกิดการกระตุกโดยควบคุมไม่ได้ มักเกิดในช่วงคุณแม่กำลังนอนหลับ ซึ่งอาจทำให้ต้องสะดุ้งตื่นกลางดึกอยู่บ่อยครั้ง คุณแม่จะรู้สึกเหมือนมีอะไรมาไต่ที่ขา โดยอาการดังกล่าวมักเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ค่ะ

 

เมื่อพบปัญหานี้ คุณควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาแนวทางแก้ไขที่ถูกต้อง เนื่องจากปัญหานี้ถูกพบว่ามีที่มาที่หลากหลาย เช่น เป็นอาการที่สืบทอดมาจากคนในครอบครัว เป็นอาการที่เกิดจากกิจกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน เช่น การสูบบุหรี่ การอดนอน การใช้ยาบางชนิด รวมถึงการทานอาหาร หรือไม่ก็เกิดจากภาวะอื่น ๆ ทางร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ เช่น ภาวะโลหิตจาง โรคไต กล้ามเนื้อผิดปกติ การขาดสารอาหารบางชนิด เนื่องจากพบว่าสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นล้วนนำไปสู่การเกิดอาการดังกล่าวได้ หากพบแล้วว่าอาการนี้มีสาเหตุมาจากอะไร คุณหมอจะได้สามารถแก้ไขได้อย่างตรงจุดค่ะ

การแสบร้อนกลางอกเป็นอาการที่พบบ่อยในคนท้องค่ะ เพราะเวลาที่มดลูกขยายตัว พื้นที่ในกระเพาะอาหารจะลดน้อยลง ทำให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร โดยอาการนี้มักเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงที่เริ่มตั้งครรภ์ได้ 2 สัปดาห์ขึ้นไป

 

วิธีแก้ได้คือ ในขณะนอน ให้คุณแม่หนุนหมอน 2 ใบ หรือมากกว่านั้น ให้ศีรษะและลำตัวช่วงบนอยู่สูงกว่าช่วงล่าง เพื่อลดโอกาสที่กรดในกระเพาะอาหารจะไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหารลง นอกจากนั้นควรทานอาหารให้เสร็จอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน และหลีกเลี่ยงการทานอาหารรสจัด เผ็ด เปรี้ยว และไขมันสูง เนื่องจากอาหารเหล่านั้นมีผลในการเพิ่มกรดในกระเพาะอาหารค่ะ

คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนต้องประหลาดใจ เมื่อพบว่าอยู่ดี ๆ ตนเองก็นอนกรนทั้ง ๆ ที่ไม่เคยมาก่อน หรือนอนกรนเสียงดังและบ่อยขึ้นกว่าปกติมากโดยไม่ทราบสาเหตุ ภาวะดังกล่าวอาจเกิดจากการที่คุณแม่มีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น ผนวกกับการที่ร่างกายกักเก็บของเหลวเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนจากการตั้งครรภ์นั่นเองค่ะ

 

ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้โดยการใช้แผ่นแปะจมูกแก้นอนกรน (Nasal strip) หรือเปิดเครื่องทำความชื้น (Humidifier) ขณะนอน พร้อมหนุนหมอนหลายๆ ใบ เพื่อให้หายใจได้สะดวกขึ้น

แต่อย่างไรก็อย่ามองข้ามการนอนกรนเป็นอันขาดนะคะ! เพราะการนอนกรนอาจเป็นสัญญาณหนึ่งของการเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ได้ ทางที่ดีควรไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยอย่างละเอียดจะดีที่สุดค่า