อาหารที่ควรทาน และควรหลีกเลี่ยง สำหรับคุณแม่ช่วงให้นมลูก

คุณแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมลูกจะต้องการพลังงานจากอาหาร และสารอาหารมากกว่าช่วงเวลาปกติ ซึ่งสารอาหารพวกวิตามิน และแร่ธาตุ อย่างธาตุเหล็ก แคลเซียม โพแทสเซียม วิตามินเอ และดี ที่คุณแม่บริโภคเข้าไปในช่วงเวลานี้ส่งผลดีต่อคุณแม่เป็นอย่างมาก ☝ไม่เพียงเท่านั้น! คุณแม่ทราบหรือไม่คะ ว่าแม้แต่รสชาติของอาหารที่ทานเข้าไป ก็ยังล้วนแล้วมีผลต่อลูกน้อย การทานอาหารหลากหลายชนิดของคุณแม่จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากจะทำให้เจ้าตัวน้อยได้ลิ้มรสชาติและทำความคุ้นเคยกับอาหารเหล่านั้น ซึ่งจะมีผลต่อความสามารถในการทานอาหารที่หลากหลายของเขาในเวลาต่อไปด้วย ❤ คุณแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมลูกจึงต้องใส่ใจในการวางแผนการทานอาหารมากเป็นพิเศษนะคะ ❤

 

แล้วถ้าอย่างนั้น คุณแม่ที่กำลังอยู่ในช่วงให้นมลูกควรต้องทาน หรือหลีกเลี่ยงอาหารประเภทไหนบ้างล่ะ?? วันนี้ #Moby ✨ได้นำข้อมูลด้านโภชนาการที่ผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) แนะนำไว้สำหรับการเตรียมอาหารของคุณแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมลูกมาฝากกันค่ะ จะมีอะไรบ้างนั้น ตามไปอ่านต่อข้างในกันเล้ยย! 😊

 

Facebook Message: m.me/babymoby

📩 Line@: https://line.me/R/ti/p/%40babymoby

Tel: 097-974-5924 (จ – ศ 10.00 – 18.00)

 

🤱 Baby Moby, because little things matter.

ผลไม้ เป็นแหล่งของสารอาหารสำคัญมากมายหลายชนิด นอกจากนั้นพวกมันยังช่วยบรรเทาปัญหาท้องผูกซึ่งเป็นปัญหาที่ผู้หญิงจำนวนมากต้องเผชิญหลังการคลอดลูก การทานผลไม้จึงช่วยให้คุณแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมลูกได้รับสารอาหารที่หลากหลาย ในขณะที่ช่วยให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้นด้วย กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกาแนะนำให้คุณแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมลูกทานผลไม้ให้ได้ปริมาณ 2 ถ้วยต่อวัน และควรทานให้ได้หลายชนิด โดยได้แนะนำผลไม้ที่เป็นแหล่งสำคัญของโพแทสเซียม และวิตามิน เอ เอาไว้ดังนี้ แคนตาลูป เมลอนฮันนีดิว กล้วย มะม่วง แอปริคอต ส้ม พรุน เกรปฟรุตเนื้อแดงหรือเนื้อชมพู เป็นต้น

ธัญพืช อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะธัญพืชเต็มเมล็ดอย่างข้าวกล้อง และขนมปังโฮลวีต คุณแม่ที่ให้นมลูกควรทานธัญพืชให้ได้ 8 ออนซ์ต่อวัน ส่วนคุณแม่ที่ให้นมลูกผสมกับนมสำเร็จรูปควรทานธัญพืชให้ได้ 6 ออนซ์ต่อวัน ทั้งนี้ ธัญพืชอย่างควินัว เป็นแหล่งอาหารที่ดีมากสำหรับคุณแม่ในช่วงให้นม เนื่องจากมีโปรตีนสูง และโปรตีนก็เป็นสารอาหารที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคุณแม่ในช่วงนี้

น้ำเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับคุณแม่หลังการคลอดลูก คุณแม่ที่ต้องให้นมลูกจำเป็นต้องดื่มน้ำในปริมาณมาก เนื่องจากน้ำจะช่วยเพิ่มปริมาณของเหลวในขณะให้นมลูก การดื่มน้ำไม่เพียงพอสามารถนำไปสู่ภาวการณ์สูญเสียน้ำ และอาจส่งผลต่อปริมาณน้ำนมของแม่ที่ผลิตออกมาด้วย คุณแม่ให้นมจึงควรมีขวดหรือแก้วน้ำวางไว้ใกล้ ๆ ในทุกที่ที่ไปเสมอค่ะ

ผักอุดมไปด้วยวิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระ การทานผักที่เพียงพอจะช่วยให้คุณแม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการผลิตนมได้ ซึ่งกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกาแนะนำให้คุณแม่ที่ให้นมลูกทานผักให้ได้ 3 ถ้วยต่อวัน และคุณแม่ที่ให้นมลูกผสมกับนมสำเร็จรูปทานผักให้ได้ 2.5 ถ้วยต่อวัน โดยได้แนะนำผักที่เป็นแหล่งสำคัญของโพแทสเซียม และวิตามิน เอ เอาไว้ดังนี้ ผักใบเขียว ผักโขม แครอท มันหวาน ฟักทอง มะเขือเทศ พริกหวานสีแดง เป็นต้น

โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับคุณแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมลูกน้อย เพราะร่างกายของคุณแม่ในช่วงนี้จะต้องการโปรตีนเพิ่มขึ้นกว่าปกติถึง 25-65 กรัมต่อวัน สามารถหาได้จากการทานเนื้อไม่ติดมัน เนื้อสัตว์ทะเล อย่างหอยนางรม ปู ปลา และถั่วค่ะ

ทั้งหญิงตั้งครรภ์และคุณแม่ให้นม มีโอกาสที่จะสูญเสียแคลเซียมจากกระดูก จึงเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนหากได้รับแคลเซียมและวิตามิน ดี ไม่มากพอ ซึ่งผลิตภัณฑ์จำพวกนมทั้งหลาย เช่น นม โยเกิร์ต ชีส คือแหล่งแคลเซียมที่ดีเยี่ยม อีกทั้งยังมักถูกใส่วิตามิน ดี เสริมเข้าไปในตัวแล้วอีกด้วย สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐฯ (National Academy of Sciences) แนะนำว่าคุณแม่ที่กำลังอยู่ในช่วงให้นมควรได้รับแคลเซียมในปริมาณ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ฉะนั้นคุณแม่ที่กำลังอยู่ในช่วงให้นมควรตั้งเป้าการบริโภคผลิตภัณฑ์นมให้ได้อย่างน้อยวันละ 3 ถ้วย

 

แต่หากคุณแม่ท่านใดไม่ทานนมหรือผลิตภัณฑ์จำพวกนม ก็สามารถรับแคลเซียมจากผักใบเขียว ถั่ว น้ำผลไม้เสริมวิตามินแทนได้

 

สำหรับวิตามินดีนั้น รู้หรือไม่คะว่าแสงอาทิตย์เป็นแหล่งวิตามิน ดี ชั้นยอดที่หนึ่งเลยนะ แต่ถ้าพูดถึงอาหารแล้วล่ะก็ เห็ด และปลาไขมันสูง ก็เป็นแหล่งวิตามิน ดี ที่คุณแม่สามารถหาทานได้ง่าย ๆ เลยล่ะค่ะ

จริง ๆ แล้วไม่มีอาหารชนิดไหนที่คุณแม่ให้นมจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงโดยเด็ดขาดนะคะ เพราะแม้นมแม่จะได้รับสารอาหารที่ส่งผ่านมาทางเส้นเลือด แต่ส่วนประกอบของอาหารที่อาจซึมเข้าสู่รกนั้นแทบไม่ถูกดึงดูดเข้าไปสู่ลูกน้อยในครรภ์เลย ผู้เชี่ยวชาญจึงได้แนะนำให้เราคอยหมั่นหมั่นตรวจเช็คดูว่าลูกน้อยมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการทานอาหารแต่ละประเภทของเราหรือไม่ และคอยปรับอาหารเหล่านั้นหากมีอาหารชนิดใดที่ส่งผลต่อลูกน้อยในทางลบ

 

อาหารทะเลนั้น อย่างที่ได้กล่าวไปว่าคุณแม่ไม่จำเป็นต้องงดการบริโภคโดยสิ้นเชิงนะคะ เพียงแต่ควรจำกัดปริมาณการบริโภคให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากอาจมีปรอทเจือปนอยู่ในปริมาณสูงค่ะ

 

สำหรับคาเฟอีนนั้น จริง ๆ แล้วเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน อย่าง กาแฟ ที่คุณแม่ดื่มเข้าไปสามารถส่งไปถึงลูกน้อยได้ในปริมาณที่น้อยมากๆ แต่แม้เป็นปริมาณที่น้อยมาก ๆ ก็เพียงพอแล้วสำหรับการส่งผลกระทบต่อคุณภาพการนอนของลูกน้อย คุณแม่จึงควรสังเกตดูว่าการนอนของลูกน้อยแตกต่างกันหรือไม่ในวันที่ดื่มหรือไม่ดื่มกาแฟ

 

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นอาหารประเภทที่ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ให้ความเห็นไว้แตกต่างกันในหลายทาง ในขณะที่ตั้งครรภ์นั้น แน่นอนว่าแอลกอฮอล์เป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสามารถถูกส่งผ่านไปยังทารกในครรภ์ได้โดยตรง

แต่หลังคลอดแล้ว ทารกที่รับนมจากแม่จะได้รับปริมาณแอลกอฮอล์แค่เฉพาะที่อยู่ในเส้นเลือดของแม่ให้นมเท่านั้น ซึ่งเป็นปริมาณที่น้อยมาก ๆ ฉะนั้น หากดื่มในปริมาณที่ไม่มากนัก การดื่มแอลกอฮอล์จึงไม่น่าเป็นอันตรายต่อลูกน้อย ด้วยเหตุนี้ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ (CDC) จึงแนะนำว่าหากต้องการดื่มแอลกอฮอล์ คุณแม่ให้นมควรดื่มไม่เกิน 1 แก้วต่อวัน หรือเทียบได้กับ เบียร์ ประมาณ 240 cc / ไวน์ ประมาณ 180 cc / เหล้า ประมาณ 30 cc และแนะนำว่าควรดื่มก่อนให้นมอย่างน้อย 2 – 3 ชั่วโมงเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อลูกน้อยนะคะ