วิธีบรรเทาอาการเท้าบวมของคุณแม่ตั้งครรภ์

เตือนก่อนไม่รอแล้วนะ. . .คุณแม่ตั้งครรภ์อาจมีโอกาสเท้าบวมได้!? ด้วยความห่วงใยใส่ใจต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ในวันนี้ คุณแม่โมบี้ เลยมาพร้อมกับ “5 วิธีบรรเทาอาการเท้าบวมของคุณแม่ตั้งครรภ์” ที่เชื่อว่าต้องเป็นประโยชน์ต่อการรับมืออาการเท้าบวมได้เป็นอย่างดีแน่นอน!! หรือถ้าคุณแม่คนไหนมี Tips เด็ดอื่นๆ อีกล่ะก็ เรียนเชิญมาโพสต์แชร์กันหน่อยก็ดีน้า~ ʕ→ᴥ←ʔ ❤️ #วันนี้ขอเป็นนางเตือน #เตือนก่อนสายป้องกันก่อนแก้

 

CR: https://bit.ly/2McwIPa, https://bit.ly/2YUTPE5

 

📩 Line@: https://line.me/R/ti/p/%40babymoby
Facebook Message: m.me/babymoby
Tel: 097-974-5924 (จ – ศ 10.00 – 18.00)

🤱 Baby Moby, because little things matter.

ทำไมคุณแม่ตั้งครรภ์ถึงเท้าบวม 🦶 😨!?

เหตุเกิดเพราะน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของครรภ์ทำให้เท้าต้องรองรับน้ำหนักที่มากขึ้น ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงส่งผลให้ของเหลวในร่างกายเยอะกว่าปกติ เส้นเลือดขอดเพราะมดลูกขยายตัว และไตทำงานหนักในช่วงตั้งครรภ์ จึงอาจส่งผลให้เท้าบวมขึ้นมาได้ อย่างไรก็ตามอาการเท้าบวมของคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนและสามารถดูแลเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นก็อย่ารอให้สายเกินแก้รีบเข้าพบแพทย์จะดีที่สุดค่ะ

 

👡 🥿 👠 ใส่รองเท้าที่รองรับขนาดเท้า 👡 🥿 👠

สำหรับผู้หญิงรองเท้ามีเท่าไหร่ไม่เคยพอ. . .แต่ตอนนี้ขอร้องให้พอก่อน เพราะเมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์แล้วสิ่งแรกๆ ที่ควรเปลี่ยนคือรองเท้า โดยรองเท้าที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์คือรองเท้าที่รองรับน้ำหนักได้ดีและไม่รัดเท้าจนเกินไปอย่างรองเท้ากีฬาหรือรองเท้าที่ทำจากหนังที่สามารถขยายได้ ควรหลีกเลี่ยงรองเท้าที่บีบรัดเท้า รองเท้าหัวแหลม หรือรองเท้าพื้นบางแบบรองเท้าทรงบัลเล่ต์แฟลต (Ballet flat) เพราะอาจทำให้เท้าของคุณแม่เกิดอาการบาดเจ็บได้

 

💃 ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ 💃

สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์นั้นสิ่งสำคัญคือการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ไม่มากหรือน้อยเกินไป โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีปัญหาเรื่องเท้าบวมยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะน้ำหนักที่มากเกินไปจะทำให้เท้าต้องรองรับน้ำหนักมากขึ้นและนำไปสู่อาการบาดเจ็บได้ในที่สุดค่ะ โดยเกณฑ์น้ำหนักที่เหมาะสมของคุณแม่ตั้งครรภ์นั้นขึ้นอยู่กับน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์และค่า BMI (ดัชนีมวลร่างกาย) ซึ่งสามารถคำนวณได้เองง่ายๆ ตามสูตรนี้เลยค่า

ค่าดัชนีมวลกาย (BMI)* = น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ (กิโลกรัม) ÷ ส่วนสูง(เมตร) X ส่วนสูง(เมตร)

เกณฑ์น้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

ค่า BMI 18.5 หรือต่ำกว่า ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 12.07-18.14 กก.

ค่า BMI ระหว่าง 25-29.9 ควรมีน้ำหนักเพิ่มไม่เกิน 6.8-11.34 กก.

ค่า BMI เท่ากับ 30 หรือมากกว่า ควรน้ำหนักขึ้น 4.99-9.07 กก.

 

👟 ใส่แผ่นรองเท้า 👟

เนื่องจากน้ำหนักตัวในช่วงตั้งครรภ์ที่มากขึ้นอาจส่งผลให้เท้าของคุณแม่บางคนแบนลง คุณแม่หลายคนจึงมีอาการปวดส้นเท้า ปวดฝ่าเท้า หรือฝ่าเท้าล้าเป็นพิเศษ ปวดน่อง ปวดสะโพก ปวดเข่า ปวดหลังส่วนเอว ซึ่งวิธีการบรรเทานั้นสามารถทำได้โดยการใส่แผ่นรองเท้าสำหรับคนเท้าแบนไว้ในรองเท้า เพื่อให้แผ่นรองเท้านั้นช่วยรองรับน้ำหนักการลงฝ่าเท้าและลดอาการปวดเมื่อยต่างๆลงได้ค่ะ

🦶 บริหารเท้าเพื่อบรรเทาอาการปวด 🦶

หากอาการเท้าบวมนำไปสู่อาการปวดแล้วล่ะก็ อีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยบรรเทาอาการปวดเท้าให้แก่คุณแม่ได้ก็คือการบริหารเท้าเป็นประจำ โดยการยกขาขึ้นที่สูงหรือพาดขากับเก้าอี้เอาไว้ จากนั้นหมุนข้อเท้าตามเข็มนาฬิกาสลับกันทีละข้าง ทำแบบนี้เป็นประจำทุกวันก็จะสามารถช่วยลดอาการเท้าบวมลงได้นะคะ